พระสิงห์ ๑ (พระพุทธสิหิงค์) กลางวงกลม ระหว่างวงกลมสองวงซ้อนกันข้างบนเป็นชื่อ " พระสิงห์มูลนิธิ " ตรงกลาง ซ้าย เป็น อักษร ช ในกรอบสี่เหลี่ยมเปียกปูน คือ "เชียง" ด้านขวาเป็นอักษร ม. คือ "ใหม่" ข้างล่าง เขียนว่า "ใบอนุญาต เลขที่ ต. ๒๔๐/๒๔๘๙" (ต.240/2489)
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์ | ||
![]() | 1 | คน |
![]() | 50 | ครั้ง |
![]() | 82 | ครั้ง |
![]() | 1,707 | ครั้ง |
![]() | 167,913 | ครั้ง |
ตราสาร(ข้อบังคับ)
มูลนิธิ "พระสิงห์มูลนิธิ"
หมวดที่ ๑ ชื่อและสำนักงานที่ตั้ง
ข้อ ๑ มูลนิธิ ให้ชื่อว่า "พระสิงห์มูลนิธิ" ชื่อย่อ ว่า "พ.ส.ม." เรียกเป็นภาษาอังกฤษ ว่า "PRASINGHA FOUNDATION" ย่อ ว่า "P.S.F."
ข้อ ๒ เครื่องหมายของมูลนิธิ คือ วงกลมล้อมรอบพระพุทธสิหิงค์ มีสิงห์ลายเส้นเป็นฉากหลัง ขอบบนมีชื่อ "พระสิงห์มูลนิธิ" ขอบริมกลางทั้งสองด้านเป็นอักษร "ช" อยู่ด้านซ้าย อักษร "ม" อยู่ด้านขวา ส่วนขอบล่างมี "ใบอนุญาตเลขที่ ต. ๒๔๐ / ๒๔๘๙"
ข้อ ๓ สำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เลขที่ ๒ ถนน สามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ ๕๐๒๐๐ โทร. 053 814 933 โทรสาร 053 814 934
หมวดที่ ๒ วัตถุประสงค์
ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ มีดังนี้ คือ
๔.๑ เพื่อบำรุงการศาสนศึกษาของวัดพระสิงห์
๔.๒ เพื่อเป็นค่าภัตตาหารพระภิกษุสามเณรในวัดพระสิงห์
๔.๓ เพื่อบูรณะก่อสร้างเสนาสนะหรือศาสนสถานในวัดพระสิงห์
๔.๔เพื่อการกุศลและสาธารณประโยชน์
๔.๕ ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
หมวดที่ ๓ ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
ข้อ ๕ ทรัพย์สินของมูลนิธิ มีทุนเริ่มแรก คือ
ก. จำนวนเงินสด ๒๔๙,๑๔๘.๑๐ บาท (สองแสนสี่หมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยสี่สิบแปดบาทสิบสะตางค์)
ข. จำนวนที่ดิน ๑ แปลง ระวาง ๔๘๔๖ IV ๐๔๗๘ โฉนดเลขที่ ๗๘ เลขที่ดิน ๒๙๕ เล่มที่ ๑ข หน้า ๗๘ ตำบล สันพระเนตร์ อำเภอ สันทราย จังหวัด เชียงใหม่ จำนวน ๒๐ ไร่ ๑ งาน ๘๕ วา คิดเป็นราคา ประมาณ ๘,๑๘๕,๐๐๐.๐๐ บาท(แปดล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ข้อ ๖ มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สิน โดยวิธี ดังต่อไปนี้
ก. เงินจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้ต่าง ๆ
ข. ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้โดยพินัยกรรม หรือ นิติกรรมอื่นๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิต้องรับผิดชอบในหนี้สินแต่ประการใด
ค. ดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สิน อันเป็นทุนของมูลนิธิ
ง. การจัดกิจกรรมของมูลนิธิเพื่อระดมทุนตามความเหมาะสม
ข้อ ๗. ทรัพย์สินและกิจการต่าง ๆของมูลนิธิ อยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมการดำเนินงาน ซึ่งปฏิบัติตาม หน้าที่ โดยไม่ขัดแย้งกับตราสารหรือข้อบังคับฉบับนี้
ข้อ ๘. ในการทำนิติกรรมใด ๆ ของมูลนิธิ หรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ข้อบังคับและสรรพหนังสือ อันเป็น หลักฐานของมูลนิธิ การอรรถคดี ประธานหรือรองประธานผู้ทำการแทน เป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวก็ถือว่าเป็นอันใช้ได้
หมวดที่ ๔ คุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ
ข้อ ๙. กรรมการของมูลนิธิ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๙.๑ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี บริบูรณ์
๙.๒ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
๙.๓ ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิภากษาให้จำคุก เว้นแต่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
๙.๔ เป็นที่นับถือและเชื่อถือของภิกษุสามเณรและศรัทธาวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
๙.๕ เป็นผู้มี ศีลธรรม อันดีงาม
ข้อ ๑๐. กรรมการของมูลนิธิ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
๑๐.๑ ถึงคราวออกตามวาระ
๑๐.๒ ตาย หรือ ลาออก
๑๐.๓ ขาดคุณสมบัติ ตามข้อบังคับ ข้อ ๙
๑๐.๔ เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ ให้ออก โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของที่ประชุมคณะกรรมการ
หมวดที่ ๕ การดำเนินงานของคณะกรรมการ
ข้อ ๑๑. คณะกรรมการมูลนิธิประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงาน และ กรรมการที่ปรึกษา
ข้อ ๑๒. คณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๗ คน แต่ไม่เกิน ๑๑ คน
ข้อ ๑๓. คณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และ ตำแหน่งอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี ประธานดำเนินงานมูลนิธิ เป็นประธานกรรมการโดย ตำแหน่ง ในกรณีตำแหน่งกรรมการดำเนินงานว่างลง ให้คณะกรรมการดำเนินงานที่เหลืออยู่ แต่งตั้งบุคคลอื่น เป็นกรรมการดำเนินงานมูลนิธิแทนตำแหน่งที่ว่าง กรรมการดำเนินงานผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อม อยู่ในตำแหน่ง เท่าวาระของผู้ที่ตนแทน
ข้อ ๑๔. คณะกรรมการดำเนินงานตามข้อ ๑๓ ในข้อบังคับนี้ เพื่อให้กิจการของมูลนิธิดำเนินไปต่อเนื่องกัน ในวาระเริ่ม แรก คณะกรรมการดำเนินงานที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ จำนวน ๑ ใน ๒ จะต้องออกจากตำแหน่งโดยการจับฉลาก เมื่อกรรมการดำเนินงานชุดแรกได้ทำหน้าที่ครบ ๒ ปีแล้ว แต่กรรมการที่ออก อาจได้รับเลือกเข้าเป็นกรรมการดำเนินงานมูลนิธิได้อีก
ข้อ ๑๕. วิธีเลือกตั้งกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ ให้ปฏิบัติดังนี้ ให้กรรมการดำเนินงานมูลนิธิชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่ เลือกตั้งรองประธานกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ และกรรมการอื่นๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรในข้อบังคับ
หมวดที่ ๖ อำนาจหน้าที่คณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ
ข้อ. ๑๖ คณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของมูลนิธิ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ภายใต้ข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ต่อไปนี้
๑๖.๑ ควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ของมูลนิธิ
๑๖.๒ เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงิน และบัญชีงบดุล รายได้ รายจ่าย ตามระเบียบของทางราชการ
๑๖.๓ ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิและวัตถุประสงค์ของข้อบังคับ
๑๖.๔ เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมกรรกิติมศักดิ์ หรือ กรรมการที่ปรึกษา ของคณะกรรมการดำเนินงาน
๑๖.๕ แต่งตั้ง หรือ ถอดถอนคณะอนุกรรมการ เพื่อดำเนินการเฉพาะอย่างของมูลนิธิ ภายใต้การควบคุม ของ คณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ ๑๗. ประธานกรรมการดำเนินงานมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑๗.๑ เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ ๑๗.๒ สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
๑๗.๓ เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และในการทำนิติกรรมต่างๆของมูลนิธิ
๑๗.๔ ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามข้อบังคับและมติของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ ๑๘. รองประธานกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ มีหน้าที่ทำการแทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อประธานกรรมการ มูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือในกรณีที่ประธานกรรมการมูลนิธิมอบหมายให้ทำการแทน
ข้อ ๑๙. ถ้าประธานกรรมการดำเนินงานมูลนิธิและรองประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการ ประชุมคราวหนึ่ง คราวใด ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานการประชุมคราว นั้น
ข้อ ๒๐. เลขานุการมูลนิธิ มีหน้าที่ปฎิบัติงานประจำของมูลนิธิ และติดต่อประสานงานทั่วไป เก็บ รักษาระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง รายงานกิจการต่าง ๆตลอดจนบัญชีพัสดุ ทะเบียนครุภัณฑ์ และทรัพย์สิน ต่าง ๆ ของมูลนิธิ นัดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการมูลนิธิ ทำรายงานการประชุมและรายงานกิจการของมูลนิธิ
ข้อ ๒๑. เหรัญญิก มีหน้าที่ ปฏิบัติงานการเงิน ทรัพย์สินของมูลนิธิ ตลอดจนบัญชีและเอกสารที่กี่ยวข้องให้ถูกต้อง และ เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
ข้อ ๒๒. กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ของมูลนิธิมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ หรืออนุกรรมการอื่น ๆ และมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิมอบหมาย โดยทำเป็นคำสั่งระบุอำนาจหน้าที่ให้ ชัดเจน
หมวดที่ ๗ อนุกรรมการพระสิงห์มูลนิธิ
ข้อ ๒๓. คณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิ อาจแต่งตั้งหรือถอดถอนอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสม โดยจะแต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการประจำ หรือเพื่อการใดเป็นกรณีพิเศษเฉพาะคราวใดก็ได้
ข้อ ๒๔. การอยู่ในตำแหน่งของอนุกรรมการ ถ้ามิได้กำหนดไว้ ก็ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งเป็นผู้แต่ง ตั้ง และอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกก็ได้
๒๔.๑ อนุกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการมูลนิธิมอบหมาย
๒๔.๒ อนุกรรมการมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการดำเนินงานฯเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
หมวดที่ ๘ การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ ๒๕. คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปีภายในเดือนมกราคม และต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้ง หมดจึงจะครบเป็นองค์ประชุม เพื่อพิจารณากิจการ ต่อไปนี้
๒๕.๑ พิจารณารายงานเกี่ยวกับกิจการ ที่ล่วงมาแล้ว
๒๕.๒ พิจารณาบัญชีงบดุล
๒๕.๓ คัดเลือกผู้ตรวจสอบบัญชี
๒๕.๔ ปรึกษากิจการอื่นๆ ของมูลนิธิ
ข้อ ๒๖. การประชุมวิสามัญอาจมีขึ้นได้หากประธานกรรมการมูลนิธิเห็นสมควร หรือกรรมการมูลนิธิไม่น้อยกว่า ๒ คน ร้องขอต่อประธานมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทน
ข้อ ๒๗. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ มติที่ประชุมให้ถือเอาเสียงข้างมาก ในกรณีที่มีเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
หมวดที่ ๙ การเงิน
ข้อ ๒๘. ประธานกรรมการมูลนิธิหรือรองประธานกรรมการมูลนิธิ ในกรณีทำการแทน มีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้คราวละ ไม่เกิน ๕๐๐๐ บาท ( ห้าพันบาท )
ข้อ ๒๙. เหรัญญิก มีอำนาจรักษาเงินสดได้ ครั้งละ ไม่เกิน ๕๐๐๐ บาท ( ห้าพันบาท )
ข้อ ๓๐. เงินสดของมูลนิธิหรือเอกสารสิทธิ์ต้องนำฝากไว้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นใดที่รัฐบาลให้การ รับประกัน แล้วแต่คณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิจะเห็นสมควร
ข้อ ๓๑. การสั่งจ่ายเงิน โดย เช็ค หรือ ตั๋วเงิน จะต้องมีลายมือชื่อของประธานกรรมการหรือผู้ทำการแทนลงชื่อร่วมกับ เหรัญญิกหรือเลขานุการของมูลนิธิจึงจะเบิกจ่ายได้
ข้อ ๓๒. การรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่มีผู้บริจาคให้กับมูลนิธิ หรือได้มาโดยวิธีอื่น ให้เหรัญญิกออกใบเสร็จรับเงิน หรือใบรับสิ่งของ หรือใบอนุโมทนาบัตรไว้เป็นหลักฐาน แล้วลงบัญชีเงินหรือบัญชีทรัพย์สินไว้ ใบรับเงิน หรือใบรับสิ่งของหรือใบอนุโมทนาบัตรจะต้องมีลายมือชื่อ ประธานพระสิงห์มูลนิธิ หรือ เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และ เหรัญญิก ด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๓๓. ในการใช้จ่ายเงินของมูลนิธิ ให้จ่ายเพียงดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่เป็นทุนของมูลนิธิเท่านั้น การใช้จ่าย เงินของมูลนิธิ จะทำเป็นงบประมาณประจำก็ได้
ข้อ ๓๔. ผู้ตรวจสอบบัญชีของมูลนิธิ ต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ
ข้อ ๓๕. ผู้ตรวจสอบบัญชี มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของมูลนิธิ และรับรองบัญชีงบดุลประจำปีที่คณะกรรมการ ดำเนินงานมูลนิธิจะต้องรายงานต่อทางราชการ ผู้ตรวจสอบบัญชีมีสิทธิ์ตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนสอบถามกรรมการมูลนิธิและเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิในเรื่องใดๆที่เกี่ยว ข้องกับการเงิน การบัญชี และเอกสารดังกล่าวได้
หมวดที่ ๑๐ การแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับ
ข้อ ๓๖. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ กระทำได้โดยเฉพาะที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ ซึ่งต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้า ประชุมไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และมติแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับ ประกอบด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนกรรมการที่เข้าประชุม
หมวดที่ ๑๑ การเลิกกิจการมูลนิธิ
ข้อ ๓๗. ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไปด้วยเหตุผลใดก็ตาม ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิที่เหลืออยู่ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
ข้อ ๓๘. การสิ้นสุดของมูลนิธินั้น นอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิก ด้วยเหตุผลต่อไปนี้
๓๘. ๑ เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ
๓๘.๒ เมื่อคณะกรรมการมูลนิธิ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกกิจการมูลนิธิ
หมวดที่ ๑๒ เบ็ดเตล็ด
ข้อ ๓๙. การตีความในข้อบังคับของมูลนิธิหากเป็นที่สงสัย ให้คณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมากของจำนวน กรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๔๐. ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับเมื่อข้อบังคับของมูลนิธิมิได้ บังคับไว้
ข้อ ๔๑. มูลนิธิจะต้องไม่กระทำการค้ากำไร และจะต้องไม่ดำเนินการนอกเหนือไปจากข้อบังคับกำหนดไว้
ลงนาม ผู้จัดทำข้อบังคับ
( พระราชสิงหวรมุนี )
ประธานคณะกรรมการพระสิงห์มูลนิธิ
วันที่ .๔..มิถุนายน ๒๕๕๖
ลงชื่อ ผู้พิมพ์ตราสาร
(นาย ปรีชา นัยโพธิ์)
เลขานุการพระสิงห์มูลนิธิ