พระสิงห์ ๑ (พระพุทธสิหิงค์) กลางวงกลม ระหว่างวงกลมสองวงซ้อนกันข้างบนเป็นชื่อ " พระสิงห์มูลนิธิ " ตรงกลาง ซ้าย เป็น อักษร ช ในกรอบสี่เหลี่ยมเปียกปูน คือ "เชียง" ด้านขวาเป็นอักษร ม. คือ "ใหม่" ข้างล่าง เขียนว่า "ใบอนุญาต เลขที่ ต. ๒๔๐/๒๔๘๙" (ต.240/2489)
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์ | ||
![]() | 1 | คน |
![]() | 44 | ครั้ง |
![]() | 82 | ครั้ง |
![]() | 1,701 | ครั้ง |
![]() | 167,907 | ครั้ง |
วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ. 1888 โดยพญาผายู กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงค์มังราย เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองล้านนาไทยมาแต่โบราณกาล ในวันสงกรานต์จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานบนรถบุษบกแห่รอบเมืองให้ประชาชนสักการะบูชาเป็นพระเพณีสืบมา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในการบำเพ็ญทานบารมี หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเน้นการบำเพ็ญกุศล เพื่อการสงเคราะห์ผู้อื่น และเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น หลักธรรมเรื่องทาน (การให้) และปริจาคะ (การเสียสละ) สังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นธรรมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคล และเป็นหลักธรรมของการสังคมสงเคราะห์ก็มีเรื่องทาน คือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละ แบ่งปันช่วยเหลือกัน คำว่า "มูลนิธิ" หมายถึงทรัพย์สินที่ผู้บริจาคมีศรัทธาตั้งไว้เป็นทุน เพื่อจัดหาผลประโยชน์มาบำรุงสาธารณกุศลต่าง ๆ โดยรักษาต้นทุนเดิมไว้ ไม่ใช้จ่าย และหาวิธีเพิ่มเติมต้นทุนเิิดิมให้มีมากขึ้น เพื่อจะได้จัดหาผลประโยชน์ได้มากขึ้นด้วย
ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสเรียกการบริจาคทรัพย์เป็นมูลนิธิเช่นนี้ว่า "บุญนิธิ" แปลว่า ขุมทรัพย์คือบุญ จึงได้ตั้งพระสิงห์มูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2489
วัตถุประสงค์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนคฤหบดีอุบาสก ตรัสพระคาถาว่า บุรุษย่อมฝังขุมทรัพย์ไว้ในน้ำลึก ด้วยคิดว่าเมื่อกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ทรัพย์นี้จะเป็นประโยชน์แก่เรา เพื่อเปลื้องตนจากราชภัยบ้าง เพื่อช่วยตนให้พ้นจากโจรภัยบ้าง เพื่อเปลื้องหนี้บ้าง ในคราวทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวคับขันบ้าง ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้ในโลกก็เพื่อประโยชน์นี้แล
ขุมทรัพย์นั้นย่อมหาสำเร็จแก่เขาไปทั้งหมดในกาลทุกเมื่อทีเดียวไม่ เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนจากที่ไปเสียบ้าง ความจำของเขาคลาดเคลื่อนเสียบ้าง นาคทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ยักษ์ทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ผู้รับมรดกที่ไม่เป็นที่รักขุดเอาไปเมื่อเขาไม่เห็นบ้าง ในเวลาที่เขาสิ้นบุญขุมทรัพย์ทั้งหมดนั้น ย่อมสูญไป
ขุมทรัพย์คือบุญของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม ฝังไว้ดีแล้ว ด้วยทาน ศีล สัญญมะความสำรวม ทมะ ความฝึกตน ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี
ขุมทรัพย์นั้น ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว ใครๆ ไม่อาจผจญได้เป็นของติดตามตนไปได้ บรรดาโภคะทั้งหลายที่เขาจำละไป เขาก็พาขุมทรัพย์คือบุญนั้นไป
ขุมทรัพย์คือบุญ ไม่สาธารณะ แต่ชนเหล่าอื่น โจรก็ลักไปไม่ได้ บุญนิธิอันใดติดตามตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น
บุญนิธินั้น อำนาจผลที่น่าปรารภนาทุกอย่างแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ปรารถนานัก ซึ่งบุญกุศลอันใด บุญกุศลทั้งหมดนั้น ๆ อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้
อานิสงส์การก่อตั้งมูลนิธิ
บุญสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อมคือบุญนั้นเป็นไป เพื่อประโยชน์ใหญ่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล
(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 302 นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ)